วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แนะนำตัวเอง


https://docs.google.com/document/d/1wGOoqEXTMPqPFcAqYIz7_Jo6lSl_3zo_zImPwyfP5jQ/edit?usp=sharing

อาชีพในฝัน 5 อาชีพ

อาชีพในฝัน 5 อาชีพ
1.ออแกไนซ์
ออร์กาไนเซอร์ คือ ดำเนินกิจกรรมให้สอดรับกับ ความต้องการของลูกค้า โดยการต้องทำให้เขารู้สึกว่ามีประสบการณ์ร่วม เกิดความชอบ ที่สำคัญคือ ความเข้าใจตรงกัน
ข้อสำคัญ สิ่งที่นำเสนอไปต้องลงมือทำอย่างเป็น รูปธรรมตามสัญญาให้ได้ในการประชุมครั้งแรก บุคคลากรฝ่ายออร์กาไนเซอร์ ควรจะเป็นผู้ที่รับฟังอย่างตั้งใจ แม้ว่าในระหว่างนั้นจะคิดงานออกมาได้ทันที ก็ควรจะบันทึกไว้ และหาข้อมูลเพิ่ม เพื่อนำเสนอในโอกาสต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะให้เวลาคิดงานประมาณ 5-7 วันทำการ รูปแบบในการจัดกิจกรรมการตลาดนั้นมีมากมาย เช่น การจัดงานเปิดตัวสินค้า, การจัดนิทรรศการ, การประชาสัมพันธ์ หรือแม้แต่กิจกรรมที่มุ่งเป้าในการเพิ่มยอดขายสินค้า แต่ทั้งนี้ ลูกค้าจะต้องเป็นผู้กำหนดโจทย์ ว่าจัดกิจกรรมนี้จัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด และควรเป็นเพียงเรื่องเดียว เพื่อที่จะทำให้กิจกรรมนั้นมีความโดดเด่น
บุคคลากรในการทำงาน ออร์กาไนเซอร์นั้น หลักๆ ควรมีอย่างน้อย 5 ตำแหน่ง คือ
1.       Business Development หรือ Sale Director ตำแหน่งนี้มีบทบาทสำคัญในการหาลูกค้า ซึ่งจำเป็นต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ มีสายสัมพันธ์ที่ดีทั้งลึกและกว้าง เพราะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านการดำเนินธุรกิจ การเจรจาต่อรอง ฯลฯ
2.      AE (Account Executive)  เป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการลูกค้า ทั้งในส่วนของงบประมาณ ประสานงานกับฝ่ายความคิดสร้างสรรค์
3.      Creative ฝ่ายนี้จะเป็นส่วนคิดงาน ว่ากิจกรรมการตลาดควรจะมี Concept หรือแนวคิดหลักอย่างไร ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่ ? ซึ่งควรจะเข้าร่วมรับฟัง ความต้องการของลูกค้าเพราะจะต้องเป็นผู้นำเสนองาน คนเป็นครีเอทีฟที่ดี ควรจะมีไหวพริบ ปฏิภาณที่ดีเลิศ สามารถหาเหตุผลมาจูงใจ และโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้องานของตนเองได้
4.      Producer ฝ่ายนี้จะเป็นผู้ลงมือจัดทำกิจกรรม หรือคัดเลือกองค์กรภายนอกเข้ามารับช่วงงาน (Out Source)  และดูแลรายละเอียดต่างๆ ของงานที่เกิดขึ้น
5.      Designer ส่วนนี้จะเป็นการออกแบบ งานศิลปะ หรือผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมฯสำหรับ บริษัท ออร์กาไนเซอร์ ขนาดเล็กนั้น บางตำแหน่งอาจจะเป็นคนๆ เดียวกันก็ได้ เช่น เป็นทั้ง AE และ Creative ซึ่งต้องคิดและนำเสนองาน กับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา  สำหรับส่วนงานที่เหลือ บริษัท ออร์กาไนเซอร์ สามารถจัดจ้างบริษัทฯ ภายนอกเข้ามาสนับสนุนได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การจัดแสดงแสงสีเสียง หาพริตตี้ หรืองานก่อสร้างบู๊ท, ป้ายประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง
2.อาชีพนักจัดสวน
อาชีพนักจัดสวน  คือ  อาชีพที่เกี่ยวข้องการออบแบบสวนในรูปแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานที่และความต้องการของเจ้าของพื้นที่ เช่น  การจัดสวนภายในอาคาร  การจัดสวนภายนอกอาคาร  การจัดสวนตามบ้านพัก หรือสถานที่ราชการ  รัฐวิสาหกิจ และเอกชน  เป็นต้น
ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
1.  ออกแบบสวนในรูปแบบต่าง ๆ
2.  การจัดวางองค์ประกอบของต้นไม้และพรรณไม้
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1.  มีความแข็งแรง
2.  ขยัน
3.  อดทน
4.  มีความคิดสร้างสรรค์
5.  มีความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้ต่าง ๆ
6.  มีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบทางศิลปะ
7.  อื่น ๆ
แนวทางพัฒนาอาชีพ
1.  นักจัดสวน
2.  เจ้าของกิจการออกแบบสวนและจัดสวนตามสถานที่ต่างๆ
3.  อื่น ๆ
อาชีพนักจัดสวน  เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมมากขึ้น  เนื่องจากปัจจันที่อยู่อาศัย และอาคารสถานต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียวภายในบริเวณ  การตกแต่งสวนและจัดสวนให้ดูดี  มีความสวยงามย่อมสร้างความรู้สึกสบายและผ่อนคลาย  การจัดสวนจึงมีความสำคัญมาก และเป็นอาชีพที่มีทิศทางที่สดใส เนื่องจากเป็นงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์
3.อาชีพนักข่าว
ผู้สื่อข่าวคือผู้เสาะแสวงหาข่าวและส่งข่าวตามระบบสื่อสารมวลชนโดยให้ข่าวสารที่เสนอเป็นประโยชน์แก่ผู้รับข่าวสาร หรือสาธารณชน ภายใต้จรรยาบรรณทางวิชาชีพ จริยธรรมและกฎหมาย
ลักษณะของงานที่ทำ
ผู้สื่อข่าวหรือนักข่าวที่สังกัดอยู่กับสื่อมวลชนใดก็ตามต้องปฏิบัติหน้าที่หลักอย่างเดียวกัน คือ เสาะแสวงหาข่าว เจาะข่าว และทำข่าวด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สอบถาม เข้าร่วมฟังในที่ประชุมแถลงข่าว การสัมมนา ติดตามเหตุการณ์ คดีต่างๆ หรือปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำข่าว หรือสารคดี เฉพาะเรื่อง จดบันทึกข้อเท็จจริงจากการสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การถ่ายภาพ การบันทึกเทปเสียง เทปโทรทัศน์ วิดีโอเทป เขียนข่าวตามรูปแบบของการเสนอข่าวที่ถูกต้องชัดเจน โปร่งใส และมี รายละเอียดตามความเหมาะสมสำหรับเรื่องหรือเหตุการณ์ที่เป็นข่าว ส่งข่าวให้กับกองบรรณาธิการ เพื่อพิจารณาก่อนเผยแพร่โดยการออกอากาศหรือลงพิมพ์ ในสิ่งพิมพ์ตามวัตถุประสงค์ ของการเสนอข่าวแก่ สาธารณชน  การรายงานข่าวอาจรายงานสดตรงมา หรือสถานที่ที่เป็นข่าว เช่นผลของการเลือกตั้ง สงครามใน พื้นที่จริงที่อยู่ในที่ห่างไกลในประเทศ ต่างประเทศ มุมใดมุมหนึ่งของโลก โดยผ่านอุปกรณ์การสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร เครื่องโทรสาร และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวที่เชี่ยวชาญหรือได้รับมอบหมายให้ทำข่าวด้านใดด้านหนึ่งอาจได้รับการเรียกชื่อหรือว่าจ้างตามสายงานที่ปฏิบัติ เช่น ผู้สื่อข่าวสายการเมือง ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวสายสิ่งแวดล้อม ผู้สื่อข่าวสารอาชญากรรม หรืออาจได้รับการเรียกตามสถานที่ที่ไปทำข่าวเป็นประจำ ได้แก่ ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงก็ได้
ผู้สื่อข่าวจะต้องรับผิดชอบในการทำข่าวให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ชิ้นงาน แต่ถ้าเป็นข่าวที่ต้องวิเคราะห์เจาะลึกอาจต้องใช้เวลา 3 - 4 วันในการทำข่าว
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. ควรมีความสนใจความเคลื่อนไหวของข่าวสารทั่วโลก เป็นนักสังเกตการณ์ที่สามารถเข้าใจสถานการณ์นั้นๆ และสามารถสื่อสารรายงานข้อมูลข่าวสารได้ถูกต้องและเแม่นยำ
2. ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมีความอดทน ระมัดระวังและรอบคอบ สุขุม
3. ทำงานเป็นทีมได้พร้อมปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบสูงต่อทั้งแหล่งข่าว และต่อวิชาชีพ
4. สามารถทำงานให้ลุล่วงตามหน้าที่รับผิดชอบให้ทันตามกำหนดเวลา ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากกว่าบุคลากรในอาชีพอื่น ๆ
5. มีความกล้าในการปฏิบัติการ หรือการนำเสนอข่าว ที่บางครั้งอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
6. สามารถถ่ายภาพและใช้อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารได้ทุกชนิด
7. มีความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างถ่องแท้
ผู้ประกอบผู้สื่อข่าว-ผู้รายงานข่าว-นักข่าว-Reporterควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ควรศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาใดก็ได้หรือ เลือกศึกษา สาขาวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเช่นเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์
นอกเหนือสิ่งอื่นใด การเป็นผู้สื่อข่าวจะต้องเสนอข่าวข้อเท็จจริงอันเป็นสาระประโยชน์ ไม่บิดเบือน ข้อเท็จจริง ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ในการปฏิบัติหน้าที่ ซื่อสัตย์ มีอุดมการณ์ ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง
4.สถาปนิก
สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร     เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น
คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดี
2. มีการทำงานที่มีระบบ
3. ละเอียดรอบคอบต่องานที่ทำ เพราะเป็นงานที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย
4. ใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์
5. คำนึงถึงงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพมากกว่าค่าตอบแทน
6. เข้าใจในระบบเศรษฐกิจและการตลาด เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
7. รักและเสียสละ เพื่อพัฒนาท้องที่ในต่างจังหวัด
8. ต้องมีรสนิยมทางศิลปะที่ดี และรู้จักพัฒนารสนิยมให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
9. คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่เมือง และสภาพแวดล้อม รวมถึงสภาพสังคม วัฒนธรรมของท้องถิ่น

5.ผู้กำกับภาพยนต์
ผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่ควบคุมงานเกือบทุกอย่างในกองถ่าย ที่เกี่ยวข้องกับภาพและเสียง การดำเนินเรื่อง มุมกล้อง บทสนทนา สเปเชียลเอฟเฟกต์ ที่จะสื่อให้ผู้ชมได้รับรู้ในทุกๆแง่มุมที่เขาต้องการจะเผยแพร่ออกมา ผู้กำกับบางคนมีอำนาจในการจ้างคนที่จะต้องร่วมงานด้วยบ่อย ๆ อย่างเช่น ฝ่ายกำกับภาพ ซาวเอ็นจิเนียร์ ฝ่ายจัดแสง ฝ่ายจัดหาโลเคชั่น ฝ่ายคอสตูม ฝ่ายสเปเชียลเอฟเฟกต์ โดยผู้อำนวยการสร้างจะไม่ลงมายุ่งในเรื่องพวกนี้ด้วยมากนัก หากผู้กำกับภาพยนตร์ยังใช้ทุนสร้างอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจวิธีการกำกับ
วิธีการกำกับของผู้กำกับแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกันเลย ซึ่งตรงจุดนี้เป็นเสน่ห์ของภาพยนตร์ เพราะผลงานที่ได้จะมีความหลากหลาย เนื่องจากศิลปะการกำกับหนังไม่มีทฤษฏีที่ตายตัว แบ่งประเภทออกได้คร่าวๆดังนี้
·     ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง โดยงานในกองถ่ายจะต้องเป็นไปตามที่ผู้กำกับสั่งทุกระเบียดนิ้ว หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า auteurs
·         พูดให้แนวทางคร่าวๆกับนักแสดงว่าฉากนี้ต้องการจะออกมาให้อยู่ในอารมณ์แบบไหน และให้นักแสดงไปฝึกซ้อมบทพูดกันเอาเอง หนังบางเรื่องของ โรเบิร์ต อัลแมน กำกับโดยแนวนี้
·         แทบไม่สั่งอะไรกับนักแสดงเลย อาจจะบอกเพียงแค่ว่า ให้เดินออกมาจากบ้าน แต่ไม่ยอมบอกว่า ให้เดินออกมาจากบ้านทำไม ผู้กำกับในแนวนี้ อย่างเช่น หลุยส์ บุนเนล
·         มีพลอตหนังคร่าวๆ และชอบด้นบทสนทนาของตัวละครในกองถ่ายสดๆ เช่น หว่อง คาไว
·         ชอบเขียนบทเองและกำกับเอง โดยอาจจะนำนวนิยายมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ หรือเขียนบทจากจินตนาการของตนเอง เช่น วูดดี อัลเลนสแตนลีย์ คูบริกบิลลี ไวลด์เดอร์,เควนติน แทแรนติโน,ริชาร์ด ลิงเลเตอร์
·         ร่วมงานกับนักเขียนบทคนใดคนหนึ่งตลอด โดยจะเปลี่ยนนักเขียนบทน้อยมาก อย่างเช่น ยาสุจิโร โอสุ/โคโกะ โนดะ
·         ชอบทั้งกำกับเองและแสดงเป็นตัวละครเอกเองด้วย อย่างเช่น เฉินหลงวูดดี อัลเลนหม่ำ จ๊กมกชาร์ลี แชปลินเอ็ด วูด
·         กำกับแต่ภาพยนตร์แนวที่ตัวเองถนัดเท่านั้น เช่น จอร์จ ลูคัสโรเบิร์ต โรดริเกวซเดวิด โครเนนเบิร์กสองพี่น้องวาโชว์สกี้เซอร์จิโอ ลีโอเนอัลเฟรด ฮิตช์ค็อกเอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
ความรับผิดชอบ
ผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่ควบคุมงานเกือบทุกอย่างในกองถ่าย ที่เกี่ยวข้องกับภาพและเสียง การดำเนินเรื่อง มุมกล้อง บทสนทนา สเปเชียลเอฟเฟกต์ ที่จะสื่อให้ผู้ชมได้รับรู้ในทุกๆแง่มุมที่เขาต้องการจะเผยแพร่ออกมา ผู้กำกับบางคนมีอำนาจในการจ้างคนที่จะต้องร่วมงานด้วยบ่อย ๆ อย่างเช่น ฝ่ายกำกับภาพ ซาวเอ็นจิเนียร์ ฝ่ายจัดแสง ฝ่ายจัดหาโลเคชั่น ฝ่ายคอสตูม ฝ่ายสเปเชียลเอฟเฟกต์ โดยผู้อำนวยการสร้างจะไม่ลงมายุ่งในเรื่องพวกนี้ด้วยมากนัก หากผู้กำกับภาพยนตร์ยังใช้ทุนสร้างอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ